กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมการปฏิรูป ยกร่างมาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

การดำเนินการ

  • แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ 198/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • การประชุมคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1(1/2565) วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ครั้งที่ 2(2/2565) วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ครั้งที่ 3(3/2565) วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

  1. กลุ่มวิชาสร้างทักษะผู้ประกอบการ
  2. กลุ่มวิชาพัฒนาทักษะทางดิจิทัล
  3. กลุ่มวิชาสร้างทักษะภาษา
  4. ภาษาอังกฤษ
  5. ภาษาจีน
  6. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางสังคม
  7. กลุ่มวิชาสร้างนักนวัตกรรม

มาตรฐานผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ของรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ดังนี้

  • มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านความรู้

ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  1. มีความรู้ความเข้าใจที่สามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ
  2. มีความรู้ความเข้าใจที่สามารถนำไปต่อยอดองค์ความรู้สู่การสร้างนวัตกรรม
  3. มีความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  4. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎี

กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  1. จัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active learning)
  2. จัดการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านการทำโครงการ (Project-based learning)
  3. จัดการเรียนรู้บนฐานปัญหา (Problem-based learning)
  4. จัดการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้อภิปรายและสะท้อนการเรียนรู้ (Learning reflection)
  5. จัดการเรียนรู้แบบ Team teaching
  6. จัดการเรียนรู้แบบ Coaching
  7. จัดการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอ Pitching

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

  1. ประเมินจากผลการทดสอบ
  2. ประเมินผลผลิต (Output) หรือผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ
  3. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
  4. มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะ

ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ

  1. มีทักษะในการประยุกต์ บูรณาการองค์ความรู้และปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบการ
  2. มีทักษะในการประยุกต์ บูรณาการองค์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม
  3. มีทักษะทางด้านการสื่อสารภาษา
  4. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
  5. มีทักษะในการประยุกต์ บูรณาการองค์ความรู้ คิดสร้างสรรค์ในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะ

  1. จัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม (Active learning)
  2. จัดการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่านการทำโครงการ (Project-based learning)
  3. จัดการเรียนรู้บนฐานปัญหา (Problem-based learning)
  4. จัดการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาได้อภิปรายและสะท้อนการเรียนรู้ (Learning reflection)
  5. จัดการเรียนรู้บนฐานนวัตกรรม (Innovation-based learning)
  6. จัดการเรียนรู้แบบ Team teaching
  7. จัดการเรียนรู้แบบ Coaching
  8. จัดการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอ Pitching

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ

  1. ประเมินจากผลการทดสอบทักษะที่เกี่ยวข้อง
  2. สังเกตทักษะที่เกี่ยวข้อง
  3. ประเมินผลผลิต (Output) หรือผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ
  4. มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม

ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม

  1. มีจิตสาธารณะ
  2. มีความรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม
  3. เคารพสิทธิ คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  4. มีวินัย
  5. มีความซื่อสัตย์

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านจริยธรรม

  1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
  2. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยเน้นให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติและนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
  3. เรียนรู้และฝึกแก้ปัญหาจากกรณีตัวอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม

  1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
  2. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
  3. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหา
  4. การประเมินแบบรอบด้าน
  5. มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล

ผลการเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล

  1. มีภาวะผู้นำและสามารถทำงานเป็นทีม
  2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อย่างน้อย 1 ภาษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหา
  4. แสดงพฤติกรรมสำรวมกาย วาจา ใจ ที่เหมาะสมกับเวลาและสถานที่
  5. มีทักษะการคิดเชิงบวก คิดสร้างสรรค์ และคิดแบบมีวิจารณญาณ

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาผลการเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล

  1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
  2. จัดกิจกรรมโดยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3. จัดการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
  4. จัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา
  5. จัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล

  1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกถึงภาวะผู้นำ
  2. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
  3. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรม
  4. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
  5. ประเมินจากผลการทดสอบ

6) ประเมินความสามารถในการใช้ภาษาทางด้านการสื่อสาร

กิจกรรมที่ 2 การประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

การดำเนินการ

การบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565 โดย ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ประเด็นการนำเสนอ

  • ความหมายการจัดการศึกษา/หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  • ปรัชญาอุดมศึกษาไทย
  • สถานการณ์อุดมศึกษาในปัจจุบัน
  • ความท้าทายในอนาคต
  • การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโควิด
  • แนวโน้ม University Policy
  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไปพันธุ์ใหม่
  • การปรับตัวของการศึกษาไทย

กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัยและสอดรับการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (พัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม)

การดำเนินการ

ครั้งที่ 1 วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2565 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุม PIBUL301 และ PILBUL302 อาคารพิบูลวิชญ์ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  • การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ 198/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 20 รายวิชา ทุกรายวิชามีข้อมูลครบถ้วนตามแบบขอเปิดรายวิชาใหม่หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  1. กลุ่มวิชาสร้างทักษะประกอบการ ได้แก่
    • การเป็นเจ้าของธุรกิจยุคใหม่
    • บีซีจีแนวคิดสร้างธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
    • ซอฟต์สกิลสำหรับเจ้าของธุรกิจยุคใหม่
  2. กลุ่มทักษะสร้างทักษะทางดิจิทัล ได้แก่
    • การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล
    • ความฉลาดรู้ทางสารสนเทศในยุคดิจิทัล
    • เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
    • เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อคุณภาพชีวิต
    • นวัตกรดิจิทัล
  3. กลุ่มวิชาสร้างทักษะภาษา ได้แก่
    • ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
    • การสื่อสารภาษาอังกฤษในสถานการณ์เฉพาะ
    • สนทนาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน
    • ภาษาไทยเพื่อการสี่อสารร่วมสมัย
    • ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร
    • ภาษาเกาหลีเพื่อการสื่อสาร
  4. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางสังคม ได้แก่
    • วิศวกรสังคม
    • ศาสตร์และศิลป์แห่งความสุข
    • ศิลปวัฒนธรรมไทยในบริบทสังคมโลก
    • ทักษะชีวิตกับสังคมยุคใหม่
    • เสริมพลังสร้างสรรค์สังคม
  5. กลุ่มวิชาสร้างนวัตกรรม ได้แก่
    • นวัตกรรมสร้างสรรค์

ครั้งที่ 2 วันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30 – 20.30 น. ณ สวนนงนุช จังหวัดชลบุรี

การดำเนินการ

มีอาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม จำนวน 82 คน มีวัตถุประสงค์
เพื่อต้องการให้อาจารย์ผู้สอน และผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป ได้มีทักษะการจัดการเรียนการสอนแบบ Coaching โดยได้เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นชัย ปราบจันดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Coaching เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เปลี่ยนครูเป็นโค้ช”

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการประชุม ดังนี้

  1. กระบวนการ Coaching เป็นการทำให้ผู้เรียนสามารถกำหนดเป้าหมายได้ช่วยสร้างลักษณะบุคคลด้วยการที่ผู้สอนใช้วิธีตั้งคำถามให้ผู้เรียนตอบหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  2. Teaching คือ การที่ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียน
  3. Coaching คือ การดึงความรู้จากผู้เรียนที่ผู้สอนต้องการ Coach แล้วให้คำแนะนำ (Mentor) ซึ่งเป็นกระบวนการต่อจาก Coaching และการโค้ชสำหรับใช้ในห้องเรียน เปลี่ยนจาก Teacher-centered (ครูเป็นศูนย์กลาง) เป็น Learner-centered (ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง)
  4. การสร้างบรรยากาศการเรียนที่ปลอดภัยให้กับผู้เรียน
  5. การมอบบทบาทสำคัญให้กับผู้เรียน

กิจกรรมที่ 5 การวิพากษ์รายวิชาหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ. 2566 วันที่ 14 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม ท410 อาคารทีปวิชญ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

การจัดวิพากษ์รายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 20 รายวิชา เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก จากนักวิชาการในภาครัฐและผู้บริหารในธุรกิจภาคเอกชนเข้าร่วมการวิพากษ์ โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้ประสานงานรายวิชา ประธานกลุ่มวิชา เข้าร่วมการวิพากษ์รายวิชา

รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

  1. กลุ่มวิชาสร้างทักษะผู้ประกอบการ

คุณสิงหนาท สุวะ ผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในภาคธุรกิจ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท คาร่า แลบบอราทอรีล์ จำกัด และดำเนินงานประกอบธุรกิจหลากหลายประเภท ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ ความงาม และธุรกิจประเภทขนส่ง ขนย้าย ธุรกิจประเภทการผลิตสื่อและโฆษณา

2. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางภาษา

คุณมนัส ประสงค์งาน ผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในภาคธุรกิจ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารงานบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาบุคลากรเข้าทำงาน ของบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจประเภทจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี ประจำท่าอากาศยานหลายแห่ง ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกเป็นประจำ จึงต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศสำหรับให้บริการขายสินค้า

อาจารย์ฐนวิทย์ ไกรเพิ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในภาคการศึกษา ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความเชี่ยวชาญในด้านการสอน การแปล ภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส) มีประกาศนีบัตรมัคคุเทศก์อาชีพ เขียนหนังสือและมีบทความทางวิชาการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวิจัยระดับนานาชาติ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษค่ายภาษา พัฒนาทักษะทางด้านภาษา การท่องเที่ยวให้กับสถาบันต่างๆ

3. กลุ่มวิชาสร้างนวัตกรรม

คุณชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาธุรกิจนวัตกรรม บริษัท ไรซ์ ยูนิคอร์น จำกัด มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตรกว่า 72 โครงการ จากประสบการณ์การพัฒนานวัตกรรม จึงมีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา เทคนิค หรือแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมในบริบทต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

4. กลุ่มวิชาพัฒนาทักษะทางดิจิทัล

คุณทัศไนย เหมือนเสน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ก่อตั้งบริษัทจัดหางาน JOBBKK.COM ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทไทยแลนด์อีบิซิเนสเซ็นเตอร์ จำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเทียนบอท จำกัด มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารแพลตฟอร์มการจัดหางานแบบดิจิทัล จากประสบการณ์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น จ๊อบบีเคเค สกายไลน์ทริป ไทยออนไลน์มีเดีย เจแปนออลพาส เป็นต้น

กิจกรรมที่ 6 การประชุมคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย

มีการเสนอวาระการประชุมเพื่อพิจารณาการวิพากษ์รายวิชาศึกษาทั่วไปที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ 5 กลุ่มวิชา ได้แก่

  1. กลุ่มวิชาสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
  2. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางดิจิทัล
  3. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางภาษา
  4. กลุ่มวิชาสร้างทักษะทางสังคม
  5. กลุ่มวิชาสร้างนักนวัตกรรม

มีรายวิชาที่พัฒนาทั้งหมด 20 รายวิชา โดยเป็นการพิจารณาความสอดคล้องของรายวิชากับ PLO ของหลักสูตร และ CLOs ของรายวิชา

ภาพกิจกรรม

กิจกรรมที่ 7 การประชุมคณะกรรมการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ครั้งที่ 78 (1/2566)

วันที่8 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ อยู่มี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ครั้งที่ 78 (1/2566) ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ศรีสมบัติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวรรณ ศุภนิมิตพัฒนา ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ นางสาวจุฑามาศ ชัญญะพิเชฏฐ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา งานจัดการเรียนการสอนงานพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมวิชาการ กองบริการการศึกษา และคณะกรรมการจัดการศึกษาทุกคณะ ร่วมประชุมหารือในวาระต่างๆ เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา การเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป การรับนักศึกษาและการเทียบโอนเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

กิจกรรมที่ 8 การจัดทำคู่มือการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) ในการประชุมครั้งที่ 11/2565 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติให้ความเห็นชอบคู่มือการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษา เพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยกองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา (กคอ.) จึงได้จัดทำคู่มือการตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาและการตรวจสอบการดำเนินการจัดการศึกษา เพื่อการรับรองมาตรฐาน